ความหมายของระบบ
ระบบ (System) หมายถึง การรวมกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ หรือกระบวนการต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ หากสิ่งใดหรือกระบวนการใดมีการเปลี่ยนแปลง จะกระทบกระเทือนสิ่งอื่น ๆ หรือกระบวนการอื่น ๆ ไปด้วยสรุป ได้ว่า ระบบจะต้องมี
1. องค์ประกอบ
2. องค์ประกอบจะต้องมีความสัมพันธ์กัน
3. ระบบต้องมีวัตถุประสงค์
องค์ประกอบของระบบและวิธีระบบ ระบบโดยทั่วไป จะมีองค์ประกอบดังนี้
2.2.1 สิ่งนำเข้า (Input) ได้แก่ การกำหนดปัญหา จุดมุ่งหมายทรัพยากรที่ใช้
2.2.2 กระบวนการ (Process) ได้แก่การลงมือแก้ปัญหา การวิเคราะห์ข้อมูล การนำวัตถุดิบมาใช้ มาจัดกระทำอย่างเหมาะสมเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย 2.2.3 ผลผลิต (Output) คือผลที่ได้จากการแก้ปัญหาหรือสรุปการวิเคราะห์เพื่อประเมินต่อไป
2.2.4 ผลย้อนกลับ (Feedback) คือการตรวจสอบผลผลิตเพื่อปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพต่อไปซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวจะมีความสัมพันธ์กันในการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานและการแก้ปัญหาเพื่อทำให้ผลที่ได้มีประสิทธิภาพการดำเนินงานลักษณะนี้เรียกว่า วิธีระบบ (System Approach) ดังแผนภาพข้างล่างนี้
รูปแบบการสอนโดยใช้รูปแบบจำลอง ASSURE
การใช้รูปแบบการสอน แบบ ASSURE เป็นวิธีระบบรูปแบบหนึ่งที่นำมาจากแนวคิดของไชน์พิชและคณะ (1993) โดยมีระบบการดำเนินงานตามลำดับขั้นดังนี้A = ANALYZE LEARNER'S CHARACTERISTICS การวิเคราะห์ผู้เรียน ที่สำคัญได้แก่ การวิเคราะห์พฤติกรรมเบื้องต้นและความต้องการของผู้เรียน ทั้งในด้าน
1. ข้อมูลทั่วไป เช่น อายุ เพศ ระดับการศึกษา เจตคติ ระบบสังคม วัฒนธรรม
2. ข้อมูลเฉพาะ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียนการสอน เช่น ประสบการณ์เดิม ทักษะ เจตคติ ความรู้พื้นฐาน และความสามารถในบทเรียนนั้นเพียงใด การวิเคราะห์จะช่วยให้ผู้สอน สามารถตัดสินใจเลือกสื่อและจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม
S = STATE LEARNING OBJECTIVES AND CONTENTการกำหนดจุดมุ่งหมาย จุดมุ่งหมายการเรียนที่ดี ควรเป็นข้อความที่แสดงลักษณะ สำคัญ 3 ประการคือ
1. วิธีการปฏิบัติ PERFORMANCE (ทำอะไร) การเขียนจุดมุ่งหมายควรใช้คำกริยาหรือข้อความที่สังเกตพฤติกรรมได้ เช่น ให้คำจำกัดความ อธิบาย บอก หรือจำแนก เป็นต้น
2. เงื่อนไข CONDITIONS (ทำอย่างไร) การเขียนจุดมุ่งหมายการเรียน ควรกำหนดเงื่อนไขที่จำเป็นภายใต้การปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ การกำหนดเงื่อนไข เช่น บวกเลขในใจโดยไม่ใช้กระดาษวาด หรือ ผสมแป้งโดยใช้ช้อน เป็นต้น
3. เกณฑ์ CRITERIA (ทำได้ดีเพียงไร) มาตรฐานการปฏิบัติซึ่งควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง เช่นระดับของความสามารถในการปฏิบัติ ระดับของความรู้ที่จำเป็น เพื่อการศึกษาต่อในหน่วยการเรียนที่สูงขึ้นไป
S = SELECT, MODIFY OR DESIGN MOTHODS AND MATERIALS การกำหนดสื่อการเรียนการสอน อาจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 ประการดังนี้ คือ
1) การเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน
2) ดัดแปลงจากสื่อวัสดุที่มีอยู่แล้ว
3) การออกแบบสื่อใหม่
U = UTILIZE METHODS AND MATERIALS กิจกรรมการใช้สื่อการเรียนการสอน พิจารณาได้ 3 ลักษณะคือ
1) การใช้สื่อประกอบการสอนของผู้สอน เช่น ประกอบคำบรรยาย และอธิบาย
2) การใช้สื่อเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้เรียน เช่น ชุดการสอน บทเรียนด้วยตนเอง
3) การใช้สื่อร่วมกันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เช่น เกม สถานการณ์จำลอง และการสาธิต การมีส่วนร่วมของผู้เรียน การใช้สื่อการเรียนการสอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมี ส่วนร่วมหรือได้ลงมือกระทำร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนได้มากที่สุด
R = REQUIRE LEARNER'S RESPONSE การกำหนดพฤติกรรมตอบสนองของผู้เรียน การเรียนรู้จะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดนั้น ผู้เรียนจะต้องมีปฏิกิริยาตอบสนองและมีการเสริมแรง สำหรับการพฤติกรรมการตอบสนองที่ถูกต้องอยู่เสมอ เช่น การให้สังเกตไปจนถึงการให้ทำโครงการหรือออกแบบสิ่งของต่าง ๆ การที่ผู้สอนให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีต่อการตอบสนองของผู้เรียน จะทำให้แรงจูงใจในการเรียนและการเสริมแรงมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
E = EVALUATION การประเมินผล ควรพิจารณาทั้ง 3 ด้านคือ
1) การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2) การประเมินสื่อและวิธีใช้
3) การประเมินกระบวนการเรียนการสอน
วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)